แบบเสนอโครงงานคอมพิวเตอร์
1.ชื่อโครงงาน
โครงงานทฤษฎีการแบ่งแยกดีเอ็นเอ
2.ประเภทโครงงาน
จำลองทฤษฎี
3.ผู้จัดทำโครงงาน
นางสาวนูรีซัน ประดู่
ชั้น 6/7 เลขที่ 38
4.ครูที่ปรึกษาโครงงาน
อาจราย์แวลีเยาะ เจะสนิ
5.ระยะเวลาการโครงงาน
7 พฤศจิกายน 2560 ถึง 26 ธันวาคม 2560
6.แนวคิด ที่มา และความสำคัญ
5.ระยะเวลาการโครงงาน
7 พฤศจิกายน 2560 ถึง 26 ธันวาคม 2560
กรดดีออกซีไรโบนิวคลีอิก
(deoxyribonucleic
acid) หรือย่อเป็น ดีเอ็นเอ
ซึ่งเป็นจำพวกกรดนิวคลีอิก(Nucleic acid) ดีเอ็นเอ (DNA) มักพบอยู่ในส่วนของนิวเคลียสของเซลล์ โดยพันตัวอยู่บนโครโมโซม(Chromosome)
ดีเอ็นเอ (DNA)มักพบในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด
ดีเอ็นเอ (DNA) มีรูปร่างเป็นเกลียวคู่(Double
Helix) โดยมีพอลินิวคลีโอไทด์ (Polynucleotide) 2 สาย เรียงตัวในแนวที่ตรงกันข้ามกัน
-สายหนึ่งเรียงตัวในทิศทางจาก 3’ ไป 5’
-ส่วนอีกสายหนึ่งเรียงตัวในทิศทาง 5’ ไป 3’
โดยที่พอลินิวคลีโอไทด์(Polynucleotide)ทั้ง 2 สายนี้ เอาส่วนที่เป็นน้ำตาลดีออกซีไรโบส(Deoxyribose
Sugar)ไว้ด้านนอก หันส่วนที่เป็นเบสเข้าหากัน
โดยเบสที่อยู่ตรงข้ามกันต้องเป็นเบสที่เข้าคู่กันได้(Complementary) ดีเอ็นเอ (DNA) จึงมีลักษณะคล้ายบันไดลิงที่บิดตัวทางขวา
หรือบันไดเวียนขวา ขาหรือราวของบันไดแต่ละข้างก็คือการเรียงตัวของ
นิวคลีโอไทด์(Nucleotide)
นิวคลีโอไทด์(Nucleotide)เป็นโมเลกุลทีประกอบด้วย
1.น้ำตาลดีออกซีไรโบส(Deoxyribose Sugar),
2.หมู่ฟอสเฟต (Phosphate Group) (ซึ่งประกอบด้วยฟอสฟอรัสและออกซิเจน)
3.ไนโตรจีนัสเบส (Nitrogenous Base)
เบสในนิวคลีโอไทด์ มีอยู่ 4 ชนิด ได้แก่
1. อะดีนีน (Adenine, A)
2.ไทมีน (Thymine, T)
3.ไซโตซีน (Cytosine, C)
4.กัวนีน (Guanine, G)
ขาหรือราวของบันไดสองข้างหรือนิวคลีโอไทด์ถูกเชื่อมด้วยเบส
โดยที่ A จะเชื่อมกับ T
ด้วยพันธะไฮโดรเจนแบบพันธะคู่ หรือ Double Bonds
C จะเชื่อมกับ G ด้วยพันธะไฮโดรเจนแบบพันธะสาม หรือ Triple Bonds
ผู้ค้นพบดีเอ็นเอ(DNA) คือ ฟรีดริช มีเชอร์ (Johann Friedrich Miecher) ในปี
พ.ศ. 2412 (ค.ศ. 1869)
แต่ยังไม่ทราบว่ามีโครงสร้างอย่างไร
จนในปี
พ.ศ. 2496
(ค.ศ. 1953) เจมส์ ดี. วัตสัน และฟรานซิส คริก
(James D. Watson and Francis Crick) เป็นผู้รวบรวมข้อมูล
และสร้างแบบจำลองโครงสร้างของดีเอ็นเอ(DNA) (DNA Structure Model)จนทำให้ได้รับรางวัลโนเบล(Nobel Prize in Physiology or Medicine
in 1962) และนับเป็นจุดเริ่มต้นของยุคเทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ (DNA
Technology)
7.วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้ได้รู้ DNA คืออะไร
2.เพื่อศึกษาโครงสร้างของ DNA เป็นอย่างไร
3.เพื่อศึกษาการจำลองตัวเองของ DNA
4.เพื่อฝึกการใช้เทคโนโลยีในการค้นหา
4.เพื่อฝึกการใช้เทคโนโลยีในการค้นหา
8.หลักการและทฤษฏี
การจำลองDNA (DNA
replication)
-กระบวนการสำคัญที่ทำให้เซลล์มีการเพิ่มจำนวนของDNA ภายในเซลล์ก่อนที่จพเกิดการแบ่งเซลล์
-กระบวนการนี้จะเกิดในระยะ S ของการแบ่งเซลล์และเกิดขึ้นภายในนิวเคลียสของเซลล์ยูคาริโอต
รูปแบบการจำลอง
DNA
เป็นไปตาม semiconservative model (แบบกึ่งอนุรักษ์)โดยพอลินิวคลีโอไทด์ทั้ง2สายของDNA จะแยกออกจากกัน
และแต่ละสายจำทำหน้าที่เป็นสายDNA ต้นแบบการจำลองDNA อีกสายหนึ่งต่อไป
กระบวนการจำลองDNA ในนิวเคลียสประกอบขึ้นจากการทำงานของเอนไซม์จำนวนมาก
ในที่นี้จะอธิบายเพียงบางตัวเท่านั้น
1.เอนไซม์helicase –ทำหน้าที่ในการแยกสายพอลินิวคลีโอไทด์ออกจากกัน
2.เอนไซม์primase –ทำหน้าที่ในการวาง RNA
primer เพื่อให้เอนไซม์ DNA polymeraseทำงานได้
3.เอนไซม์ DNA polymerase – ทำหน้าที่ในการนำนิวคลีโอไทด์ที่เป็นเบสคู่สมกับเบสบนสาย
DNA ต้นแบบมาวางและเกิดการต่อสาย DNA สายใหม่ให้ยาวขึ้นได้
นอกจากนี้ DNA polrmerace บางชนอดยังมีคุณสมบัติในการนำเอาส่วนของ
RNA primer ออกและมีการสร้างสายพอลินิวคลีโอไทด์สายใหม่แทนตำแหน่งเดิม
4.เอนไซม์ligase –ทำหน้าที่ในการเชื่อมและสร้างพันธะ phosphodiester
bond บริเวณnick (บริเวณที่ RNA primer
ถูกเอาออกแล้วมีการนำนิวคลิโอไทด์มาเรียงต่อกันใหม่)
รวมถึงทำหน้าที่ในการเชื่อมส่วนของ Okasaki fragment แต่ละท่อนด้วยการจำลองตัวของ
DNA
สายใหม่2สายจะความแตกต่างกันคือ
สายหนึ่งจะสามารถสร้างต่อเนื่องกันไปเรื่อยๆ เรียกว่า leading strand ขณะที่อีกสายหนึ่งไม่สามารถสร้างต่อกันป็นสายยาวได้เหมือนสายแรก
เนื่องจากทิศทางการสร้างของสายใหม่จะเป็นทิศทางจาก 5’ ไป 3’
เสมอ ซึ่งสวนทางกับการคลายเกลียวของ DNA โมเลกุลเดิม
จึงต้องมีการสร้างDNA สายสั้นๆ เรียกว่า Okasaki
fragment จะถูกเชื่อมต่อกันด้วยเอนไซม์ ligase เรียกสายใหม่ที่เกิดขึ้นนี้ว่า lagging strand
9.วิธีดำเนินงาน
1.วัสดุ อุปกรณ์
1.1 คอมพิวเตอร์
1.2 รูป DNA
1.3 ข้อมูลของ DNA จากเว็ปไซต์
และ หนังสือเรียน
1.4 Webblog
2. ขั้นตอนการดาเนินงาน
1.จัดทำเว็บบล็อก
2. คิดหัวข้อโครงงาน
3.ศึกษาและค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการจำลองตัวเองของ
DNA ว่าเป็นอย่างไรและต้องศึกษาค้นคว้าจากเว็บไซต์ต่างๆและหนังสือเรียน
4.จัดทำโครงงานการจำลองตัวเองของ DNA
5.นำเสนอผ่านเว็บไซต์
แล้วให้ครูที่ปรึกษาประเมินผลงาน
10. ขั้นตอนการปฏิบัติงาน
วัน-เดือน-ปี
|
กิจกรรม
|
ผู้รับผิดชอบ
|
7/11/60
|
จัดการกับระบบ Gmail ของตัวเอง
|
นางสาว นูรีซัน ประดู่
|
14/11/60
|
เริ่มสร้าง Web
Blog : www.Bloger.com
|
นางสาว นูรีซัน ประดู่
|
21/11/60
|
หาหัวข้อโครงงานตามตัวอย่างจากเว็บไซต์ต่างๆ
|
นางสาว นูรีซัน ประดู่
|
28/11/60
|
เพิ่มเติบเนื้อหาในโครงงานบนเว็บบล็อก
|
นางสาว นูรีซัน ประดู่
|
5/12/60
|
หาข้อมูลเพิ่มเติบ+เพิ่มเติบเนื้อหาในโครงงานบนเว็บบล็อก
|
นางสาว นูรีซัน ประดู่
|
12/12/60
|
หารูปภาพประกอบให้เหมาะสมกับเนื้อหา
|
นางสาว นูรีซัน ประดู่
|
19/12/60
|
จัดการตกแต่งภาพพื้นหลัง
|
นางสาว นูรีซัน ประดู่
|
26/12/60
|
เนื้อหาในโครงงานเสร็จสมบูรณ์
–
พร้อมเผยแพร่
|
นางสาว นูรีซัน ประดู่
|
11. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.ได้รู้ว่า DNA คืออะไร
2.ได้รู้ว่าโครงสร้างของ DNA เป็นอย่างไร
3.ได้รู้ว่าการจำลองตัวเองของ DNA เป็นอย่างไร
4.พัฒนาการใช้เทคโนโลยีในการศึกษา
12. เอกสารอ้างอิง
12. เอกสารอ้างอิง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น